บทความ

ยาแก้แพ้ เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคความจำเสื่อมได้ไม่รู้ตัว!

ยาแก้แพ้
เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคความจำเสื่อมได้ไม่รู้ตัว

 ยาแก้แพ้ ที่เป็นยาสามัญประจำบ้านต้องมีติดตู้ยาเอาไว้ตลอดนั้น ยิ่งช่วงที่สภาพอากาศเป็นมลภาวะเป็นพิษฝุ่นเยอะ ฝนตกหนัก ทำให้จามไม่หยุด คัดจมูก ผื่นขึ้นตามร่างกาย มีอาการคัน ยาแก้แพ้ก็เป็นตัวช่วยอันดับต้นๆ ที่เราจะหยิบออกมาใช้ เพื่อบรรเทาอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ เหล่านี้

แต่หากเราบริโภคบ่อยๆ ผลเคียงข้างของยาที่เกิดขึ้นนั้น อาจไม่เห็นผลในทันที เพราะสารต้านฮิสตามีน (antihistamine) ในยาแก้แพ้บางชนิด จะเข้าไปกดสารสื่อประสาทชื่อ แอซิติลโคลีน (acetylcholine) ในสมอง จากงานวิจัยเราพบว่าหากบริโภคยาตัวนี้บ่อยๆ เป็นเวลานาน สารสื่อประสาทในสมองของเราจะถูกบั่นทอนประสิทธิภาพลงไปเรื่อยๆ อาจทำให้ระบบของสมองที่การทำงานด้านการจำเสื่อมถอย อาจทำให้มีอาการความจำสั้น เสื่อม มีอาการว้าวุ่น ย้ำคิดย้ำทำ

ดังนั้นการทานยาแก้แพ้ หรือยาสามัญประจำบ้านประเภทอื่นๆ ควรปรึกษาเภสัชกร หรือ ระบุวิธีการทานให้ชัดเจน เพื่อประสิทธิภาพในการใช้ยา และไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย การซื้อยาทานเองอาจจะง่าย และสะดวกสำหรับชีวิตที่เร่งรีบในปัจจุบัน การพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างถูกวิธีนั้นย่อมปลอดภัยและรักษาตรงจุดกว่าวิธีอื่นแน่นอน

อ้างอิงจาก กรมสุขภาพจิต : 6 โอสถ ลด ความ จำ กิน ประจำ อาจ กลาย เป็น โรคสมอง เสื่อม

แหล่งที่มา
www.paolohospital.com/th-TH/rangsit/Article/Details/บทความเกี่ยวกับยา/ยาแก้แพ้-เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคความจำเสื่อมได้ไม่รู้ตัว-

แกลลอรี่